วิธีเช็กทะเบียนรถว่าใครเป็นเจ้าของ

ทราบหรือไม่ว่าคนทั่วไปก็สามารถ “เช็กทะเบียนรถ” เพื่อตรวจสอบข้อมูลผู้ครอบครองรถกับกรมการขนส่งทางบกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง JPCAPITAL จะพาไปดูกัน

เงื่อนไขการยื่นตรวจสอบทะเบียนรถ

     การขอตรวจสอบชื่อและข้อมูลผู้ครอบครองรถ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูลที่ยื่นตรวจสอบ เช่น เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาคดีความ แต่หากเป็นกรณีอื่นๆ นายทะเบียนจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป ซึ่งอาจได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล

     กรณีเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลทะเบียนรถจากการให้บริการรับเช็กทะเบียนรถ หรือรับสืบทะเบียนรถโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีโทษทั้งจำและปรับ

เอกสารประกอบการยื่นเรื่องเช็กทะเบียนรถ

  • บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง และสำเนาลงลายมือชื่อ
  • บันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานตำรวจที่เกิดเหตุ และสำเนาลงลายมือชื่อ
  • (กรณีนิติบุคคล) หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริง และสำเนาลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้ครบถ้วน พร้อมประทับตรานิติบุคคลทุกฉบับ และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนามทุกคน
  • หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ภาพจากกล้องหน้ารถ, เอกสารที่ออกโดยบริษัทประกันภัย ฯลฯ

ขั้นตอนการยื่นเรื่องเช็กทะเบียนรถ

    การดำเนินการยื่นตรวจสอบทะเบียนรถเป็นการดำเนินการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว สามารถยื่นเรื่องได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งที่รถคันนั้นจดทะเบียน โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ชั่วโมง (ไม่รวมระยะเวลารอ และกรณีระบบหรืออุปกรณ์ขัดข้อง)

  1. รับคำขอ
  2. ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ
  3. พิจารณาคำขอ
  4. อนุมัติคำขอ
  5. ชำระค่าธรรมเนียม รับใบเสร็จรับเงิน
  6. รับรองสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ
  7. จ่ายเรื่อง

     ทั้งนี้ ผู้ขอรับบริการสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานขนส่งทุกแห่ง หรือ Call Center 1584

แต่ถ้าไม่อยากเสียอารมณ์ หรือ เสียเวลา เรายินดีเป็นคนจัดการให้นะครับ ^^ ติดต่อ เจพีแคปปิตอลได้เลย^^

บริการตรวจสอบทะเบียนรถ (เช็คต้น)

รับประกัน เช็คไม่ได้ ไม่คิดเงิน 

ทําไมคุณถึงควรตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์

ทําไมคุณถึงควรตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์

 

รถยนต์เป็นทรัพย์สินมีค่าอย่างหนึ่งที่คนไทยมักจะถือครองกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อมาใช้เองหรือซื้อเพื่อการลงทุน อย่างไรก็ตาม รถยนต์ก็ยังมีความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องทะเบียนรถยนต์ที่มักจะถูกนําไปใช้ในทางมิชอบ ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถได้ด้วยตัวเองอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก

บทความนี้จะสรุปข้อมูลที่สําคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์ให้ผู้อ่านได้ทราบ เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยในการถือครองรถยนต์ต่อไป

ทําไมต้องตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่าทําไมจึงต้องตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์ เหตุผลสําคัญมีดังนี้

1. ป้องกันการถูกปลอมแปลงเอกสารสิทธิ์รถยนต์ เนื่องจากเอกสารสิทธิ์รถยนต์สามารถปลอมแปลงได้ ดังนั้นก่อนซื้อรถคันใดควรตรวจสอบข้อมูลจากทางราชการก่อนเสมอ

2. ยืนยันตัวตนเจ้าของรถที่แท้จริง ในบางกรณีอาชญากรอาจใช้ชื่อเจ้าของรถปลอม เพื่อการกระทําความผิด ดังนั้นการตรวจสอบจะช่วยให้ทราบตัวตนที่แท้จริง

3. ค้นหาประวัติการโอนขายของรถยนต์ เพื่อให้ทราบว่ารถคันดังกล่าวผ่านการเปลี่ยนเจ้าของกี่ครั้ง

4. ตรวจสอบว่ารถเคยถูกใช้ในการกู้ยืมหรือไม่ เพราะอาจติดภาระจํานองทําให้เสี่ยงต่อการถูกยึด

5. ป้องกันการถูกโกงในสัญญาซื้อขายรถยนต์ เช่น กรณีที่มีการปิดบังข้อมูลสําคัญของรถ

ดังนั้น การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถจึงเป็นมาตรการสําคัญที่ช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้

ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์

ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบกได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมเอกสารหลักฐาน ได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือมอบอํานาจ

2. กรอกแบบฟอร์มขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประชาชน พร้อมเหตุผลในการขอตรวจสอบ

3. ยื่นแบบฟอร์มพร้อมเอกสารประกอบที่สํานักงานขนส่งจังหวัด หรือที่ทําการขนส่งอําเภอ

4. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารและพิจารณาคําขอ

5. ชําระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบ ฉบับละ 50-200 บาท

6. รอรับใบรับรองสําเนาข้อมูลทะเบียนรถยนต์จากเจ้าหน้าที่

โดยทั่วไปกระบวนการข้างต้นใช้เวลาดําเนินการประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเสร็จในวันเดียว

ข้อมูลที่จะได้รับจากการตรวจสอบ

เมื่อตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถยนต์แล้ว จะได้รับข้อมูลสําคัญ ดังนี้

– ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของเจ้าของรถปัจจุบัน

– ประวัติการเปลี่ยนแปลงเจ้าของรถ

– ลักษณะรถ เช่น ยี่ห้อ รุ่น ปีรถ

– สถานะการใช้งานรถในปัจจุบัน เช่น ปกติใช้งาน ถูกยึด ถูกเพิกถอน

– ภาระจํานองรถยนต์กับสถาบันการเงิน ถ้ามี

ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราทราบสถานะของรถยนต์คันที่สนใจได้เป็นอย่างดี ทําให้มั่นใจและปลอดภัยในการซื้อขายมา

และถ้าไม่ต้องการที่จะดำเนินการด้วยตัวเอง เรายินดีเป็นตัวกลางในราคาย่อมเยาว์ ไม่เสียเวลาให้นะครับ

บริการตรวจสอบทะเบียนรถ (เช็คต้น)

e-mail : hearhui@gmail.com

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

จำนำจอดคืออะไร

 

จำนำจอด คือการนำรถไปจอดไว้เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในการขอสินเชื่อ ซึ่งรถอาจติดไฟแนนซ์อยู่ หรือ ไม่ได้ติดไฟแนนซ์แล้วก็ได้
 
 
จำนำจอด เหมาะกับใคร
  • ท่านที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินด่วนมากๆ
  • ไม่จำเป็นต้องใช้รถ
  • ไม่มีเอกสารทางการเงิน
  • ติดแบล็คลิสต์
  • รถพึ่งซื้อมา พึ่งเริ่มผ่อน ยังไม่สามารถรีไฟแนนซ์ได้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณชาตรี โทร. 095-472-7322 
 
(หากผมไม่ได้รับสาย ผมจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดนะครับ)
 

 

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

 

LINE : hearhui

จำนำเล่มทะเบียนคืออะไร

จำนำเล่มทะเบียน ไม่ต้องโอนรถ

สินเชื่อจำนำเล่มทะเบียน หรือ สินเชื่อรถยนต์มือสองที่ปลอดภาระ เจ้าของรถยนต์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ มีความต้องการยื่นสินเชื่อรถยนต์โดยไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ โดยใช้เล่มทะเบียนค้ำประกันไว้ พร้อมกับเอกสารโอนลอย ไว้ให้กับทางสถาบันการเงิน หรือ บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ แต่รถยนต์ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เมื่อผ่อนชำระค่างวดครบตามสัญญาแล้ว ก็สามารถขอรับเล่มทะเบียน พร้อมเอกสารโอนลอยคืนได้ทันที

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณชาตรี โทร. 095-472-7322 
 
(หากผมไม่ได้รับสาย ผมจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดนะครับ)
 

 

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

 

LINE : hearhui

ค่าธรรมเนียมการโอน – ภาษีที่ดิน

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณชาตรี โทร. 095-472-7322 
 
(หากผมไม่ได้รับสาย ผมจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดนะครับ)
 

 

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

 

LINE : hearhui

ขายฝากคืออะไร

 
การขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือมิฉะนั้นในกำหนดเวลาตามกฎหมาย คือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ต้องไถ่ภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่มีการซื้อขาย แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ต้องไถ่ภายใน 3 ปีนับแต่ซื้อขาย
 
หากเกินกำหนดเวลานี้แล้วกฎหมายถือว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายฝากกัน ตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที
 
กรณีที่ทำสัญญากำหนดเวลาไถ่นานเกินกว่า 10 ปี 3 ปี ก็ต้องลดลงมาเป็น 10 ปี 3 ปี หรือถ้าทำสัญญากำหนดเวลาไถ่ ต่ำกว่า 10 ปี 3 ปี ก็จะขยายเวลามิได้ หลักสำคัญของการขายฝาก อยู่ที่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองโดยตรงหรือปริยายให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกับกรรมสิทธิ์
แต่เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ผู้ขายฝากมีสิทธิที่จะไถ่ถอนได้ ดังนั้นในช่วงเวลาที่ยังขายฝากกันอยู่และกรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้รับ ซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากอาจจะนำทรัพย์สินไปทำอย่างใดก็ได้ ใครๆ ก็ไม่มีสิทธิห้ามปราม
ข้อแตกต่างระหว่าง “การขายฝาก” กับ “การจำนอง” คือ การจำนองนั้นผู้จำนองนำทรัพย์สินของตน เช่น บ้าน-ที่ดินไปค้ำ ประกันหนี้เงินกู้ หากผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะฟ้องร้องและบังคับคดียึดทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกันไว้
แต่การขายฝากเป็นการนำทรัพย์สินไปขายให้แก่คนอื่นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อถึงกำหนดแล้วผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนได้ หากเกินกำหนด ก็เสียกรรมสิทธิ์ทันที
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายฝากจะมีการทำสัญญาในลักษณะปีต่อปี เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการขายฝากที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไว้ ห้ามต่อเวลาห้ามขยายเวลาทั้งสิ้น แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะคิดไม่ถึง คือ การที่ทำสัญญาปีต่อปีนั้น ทุกครั้งจะต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้องหลายประเภททุกครั้งไป เช่น กรณีขายฝากบ้าน-ที่ดิน ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ของราคาขายฝากทั้งหมด ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าอากรร้อยละ 2.5 และยังค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นี่ยังไม่นับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียทุกปี ผู้รับซื้อฝากที่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องเป็นผู้จ่าย
แต่แน่นอนว่าต้องผลักภาระไปให้ผู้ขายฝากซึ่งเป็นเจ้าของเดิมจ่ายแทนเสมอ ภาษีที่กล่าวถึงเหล่านี้ ผู้ขายฝากจะต้องเป็นผู้รับ ภาระทุกๆครั้ง ซึ่งเมื่อนำมาคิดคำนวณแล้วยอดเงินที่ผู้ขายฝากต้องจ่ายไปทั้งสิ้น กลับสูงกว่าที่ได้รับมาตอนขายฝากเสียอีก จึงเห็นได้ว่าสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่เอาเปรียบผู้ขายฝากเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งหากเผลอไผลไม่ไปไถ่ถอนในกำหนดเวลาก็จะต้องเสียกรรมสิทธิ์ทันที
 
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณชาตรี โทร. 095-472-7322 
 
(หากผมไม่ได้รับสาย ผมจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดนะครับ)
 

 

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

 

LINE : hearhui

จำนองคืออะไร

 
การจำนอง คือ
 
สัญญาที่ผู้จำนองใช้ ทรัพย์สินของตนเองเป็นประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยนำไปจดทะเบียนตราไว้เป็นประกัน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ มีสิทธิบังคับเอาทรัพย์สินที่จำนองได้ ผู้จำนองอาจจะเป็นตัวลูกหนี้เองที่เอาทรัพย์สินมาจำนองเจ้าหนี้(ลูกหนี้ชั้น ต้น)หรือบุคคลอื่นอื่นเอาทรัพย์สินมาจำนองเจ้าหนี้ก็ได้ (บุคคลที่สาม) ลักษณะของสัญญาจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคแรก บัญญัติว่า “อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคน หนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สิน นั้นให้แก่ผู้รับจำนอง” วรรคสอง บัญญัติว่า “ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้ว หรือหาไม่”
 
ลักษณะของสัญญาจำนอง
 
1.ผู้จำนอง คือ
1.1 ตัวลูกหนี้เอง หรือ
1.2 บุคคลอื่นนำทรัพย์สินมาจำนองกับเจ้าหนี้
2. สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้จำนองต้องเอาเอกสารที่แสดงถึงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน เป็นต้น ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ทรัพย์สินของ ผู้จำนองผูกพันหนี้ประธาน โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนอง ทั้งนี้ผู้รับจำนองจะต้องเป็นเจ้าหนี้และหนี้จำนองที่เป็นประกันจะต้องเป็น หนี้ที่สมบูรณ์ด้วยกฎหมายกำหนดแบบของสัญญาจำนองไว้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
(ตามมาตรา 714)นอกจากนี้จะต้องมีข้อความที่ระบุถึงทรัพย์สินที่จำนอง (ตามมาตรา 704)และวงเงินที่จำนองด้วย (ตามมาตรา 708)
ถ้าสัญญาไม่มีข้อความตามที่กฎหมายบังคับ เจ้าหน้าที่จะไม่จดทะเบียนจำนองให้ การมอบโฉนดที่ดินหรือที่ดิน นส.3 ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนจำนอง ไม่ถือว่าเป็นการจำนอง
3.ทรัพย์สินที่จำนองได้ คือ
ตามมาตรา 703 วรรคแรก บัญญัติว่า “อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใดๆ” วรรคสอง บัญญัติว่า “สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย คือ
(1)เรือ มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
(2)แพ
(3)สัตว์พาหนะ
(4)สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ”
อสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ เช่น โฉนดที่ดิน,บ้าน,โรงเรือน,สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น สังหาริมทรัพย์ โดยทั่วไปจำนองไม่ได้ เช่น รถยนต์,ทอง,นาฬิกา เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์พิเศษ
ตามมาตรา 703 วรรคสอง จึงจะจดทะเบียนจำนองได้
 
หลักเกณฑ์ในการจำนอง
 
            1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่จะจำนอง
            2. สัญญา จำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะไม่มี ผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ ที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉยๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่
การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้มีสิทธิใดๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
            3. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย กล่าวคือ
ก. ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา) หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ซึ่งที่ดินนั้นต้องอยู่ในเขตอำนาจ
           ข. ที่ดินที่ไม่มีโฉนด ได้แก่ที่ดิน น.ส. 3 ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ
            ค. การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างไม่รวมที่ดินต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ

ขอบเขตของสิทธิจำนอง

ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้
เช่น จำนองเฉพาะที่ดินย่อมไม่ครอบถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนองเว้น แต่จะได้ตกลงกัน
ไว้ก่อนหน้าว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย
– จำนองเฉพาะบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น
– จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เช่น จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผล
ไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิของผู้จำนองอยู่ ทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่นี้ ย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. เงินต้น
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้ เช่นค่าทนายความ
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง
 
การชำระหนี้จำนอง
 
การชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ดีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนองก็ดี กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้น แล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้
            ตัวอย่าง นายเอกจำนองที่ดินของตนไว้กับนายโท ต่อมานายโทยอมปลดจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเอก แต่ ทั้งสองฝ่ายมิได้ไปจดทะเบียนการปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อมานายโทโอน การจำนองให้นายจัตวาโดย จดทะเบียนถูกต้อง แล้วนายจัตวาได้บังคับจำนองที่ดินแปลงนี้ นายเอกจะยกข้อต่อสู้ว่านายโทปลดจำนองให้แก่ตนแล้ว
ขึ้นต่อสู้กับนายจัตวาไม่ได้
 
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณชาตรี โทร. 095-472-7322 
 
(หากผมไม่ได้รับสาย ผมจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดนะครับ)
 

 

ข้อมูลติดต่อ

 

โทร : 095-472-7322

 

FACEBOOK : JPCapitalDotPartners

 

E-MAIL : hearhui@gmail.com

 

LINE : hearhui